วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

บทวิจัยปัญหาการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร



ลำดับที่
ปัญหาการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

5179
ชื่อผลงานวิจัย
ปัญหาการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
หัวข้อ(Eng)
Problems of Physical Education Teaching in Primary Schools Under the Office of Bangkik Metropolitan Primary Education
คำสำคัญ(keyword)
ปัญหาการสอนพลศึกษา ประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ปี
ชื่อผู้วิจัย
นางสาวนฤมล
ชื่อผู้วิจัย(Eng)
สุริยะ Ms. Narumon Suriya
การศึกษา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ช่วงระยะเวลาที่ทำวิจัย(duration)
ทำวิจัยเสร็จปี 2544
ประเภท
วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่จัดเก็บผลงาน
สำนักหอสมุด วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติความเป็นมา(history)
การศึกษานับเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ เพราะการศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการพัฒนาบุคคลของประเทศให้เป็นผู้ที่รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักปัญหา และวิชาการแก้ไข ตลอดจนสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสิ้นเปลืองน้อยที่สุด การศึกษาเป็นกระบวนการในการเสริมสร้างบุคคลให้มีลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าว ดังนั้น การพลศึกษาจึงเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาชาติ ที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ซึ่งการเรียนการสอนจะสำเร็จได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ เช่น งบประมาณ สถานที่ อุปกรณ์ กระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร จุดมุ่งหมาย-การสอน และที่สำคัญที่สุดคือ ครูพลศึกษาจะต้องเป็นผู้นำและผู้ดำเนินการให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป

พลศึกษาเป็นวิชาที่มีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ทั้งนี้ เพราะธรรมชาติของร่างกายต้องการการเคลื่อนไหวเพื่อการเจริญเติบโน และรักษาไว้ซึ่งสุขภาพ ในสมัยก่อนมนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ประกอบกับไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ช่วยทุ่นแรงจึงทำให้คนในสมัยนั้นมีการออกกำลังกายเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ซึ่งแตกต่างกับในสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จนทำให้คนส่วนมากไม่มีโอกาสได้ออกกำลังกายเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อเป็นการสนอบความต้องการของร่างกาย และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการขาดการออกกำลังกาย จึงจัดให้มีวิชาพลศึกษาขึ้น (กรมวิชาการ, 2533 : 1)
 

เนื่องจากกระบวนการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ครูพลศึกษาเป็นผู้ที่ใกล้ชิด และรู้จักกับนักเรียนมากกว่าครูที่สอนวิชาอื่น ๆ ดังนั้น ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และปลูกฝังพื้นฐานทางด้านกีฬา เพื่อที่จะทำให้เป็นพลเมืองที่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ครูพลศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ เพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ สำอาง พ่วงบุตร (2525 : 34) ได้กล่าวไว้ว่าในเรื่องความสำคัญของครูพลศึกษาต่อวิชาชีพว่า ครูพลศึกษาจะต้องปรับปรุงคุณภาพของตนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม แก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ ให้หมดไป ครูพลศึกษาต้องปรับปรุงทางด้านวิชาการให้ทันสมัยอยู่เสมอ ด้านการสอนก็ควรปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพ ส่วนด้านบุคลิกลักษณะ เพื่อสร้างศรัทธาต่อผู้เรียน จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านมนุษยสัมพันธ์ต้องปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ด้านคุณธรรม ความประพฤติ ต้องประพฤติตนให้เหมาะสม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ไม่เสเพล ไม่ประพฤติในทางเสื่อมเสียทางด้านอบายมุขต่าง ๆ และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ

จะเห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของการสอนพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา ต้องการให้นักเรียนได้พัฒนาการทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ให้เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการทำงาน ประกอบกิจการต่าง ๆ ดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ช่วยเพิ่มพูนสมรรถภาพทางกาย และกำลังคนในการพัฒนาประเทศโดยอาศัยการศึกษาทางด้านพลศึกษา วิชาพลศึกษาจึงจัดได้เป็นวิชาบังคับ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะว่านักเรียนที่มีสุขภาพดีจะมีความคิดอ่านและมีสมองจดจำได้ดีกว่านักเรียนที่มีสุขภาพไม่ดี สุขภาพเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษา ปรัชญาเมธีกรีกสองท่าน คือ Plato และ Aristotle ก็มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ก่อนที่จะให้การศึกษาอื่น ๆ ควรให้เด็กมีสุขภาพดีเสียก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับประถมศึกษา นับว่าเป็นการศึกษาที่มุ่งปูพื้นฐานทางการศึกษาให้แก่เด็กในระยะแรก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยได้จัดให้มีการสอนพลศึกษาในชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2430 แล้วก็ตาม การพลศึกษาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งด้านผลผลิต (product) คือ ตัวนักเรียน และโครงสร้างการจัดการเรียนการสอน (process) ต่าง ๆ เช่น จากการวิจัยปัญหาการจัดการสอนพลศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ขาดครูที่มีวุฒิทางพลศึกษา โรงเรียนส่วนมากขาดอุปกรณ์การสอนพลศึกษาทุกชนิด เท่าที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และมีสภาพไม่ดี นอกจากนั้น ผู้บริหารไม่เข้าใจและไม่ให้ความสนับสนุนทางด้านนี้เท่าที่ควร (ปิยวรรณ, 2521, ก)

ซึ่งถ้ามีปัญหาทางการเรียนการสอนแล้วจะทำให้เกิดผลเสีย มีความสำคัญมากกับเด็กประถมศึกษาที่จะเป็นเยาวชนของประเทศต่อไป และถ้าเราสามารถรู้ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาได้ก็จะเกิดผลดีต่อการศึกษาของชาติในการผลิตทรัพยากรที่มีคุณภาพ

การจัดการเรียนการสอนพลศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดีนั้น จำเป็นต้องจัดให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งได้แก่ วุฒิครูผู้สอน อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดทำให้การดำเนินการสอนไม่ดีเท่าที่ควร ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เพราะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในระดับนี้ กล่าวคือ เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาขั้นนี้แล้ว ควรมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติทางพลศึกษา สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานของการศึกษาทางด้านอื่น ๆ หรือทางด้านพลศึกษาอีกต่อไป
แนวคิด(concept)
1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทางพลศึกษาระดับประถมศึกษา

2. หลักสูตรพลศึกษาระดับประถมศึกษา

3. ลักษณะและการจัดกิจกรรมพลศึกษาที่จัดสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

4. ปัจจัยและสภาพการณ์ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน

5. ทฤษฎีและหลักการสร้างแบบประเมินค่า
วัตถุประสงค์(objective)
เพื่อศึกษาปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
แนวทางการปฏิบัติ(regulation)
การวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มตัวอย่าง(sample)
กลุ่มประชากร ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษา ที่สอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 76 จาก 38 โรงเรียน
กลุ่มตัวอย่าง -
ตัวแปร(variable)
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัญหาการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 
ตัวแปรตาม -
คำนิยาม(defination)
ปัญหาการสอนพลศึกษา หมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน โดยวัดจากความคิดเห็นของกลุ่มประชากร ด้านจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ด้านวิธีการสอนกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ด้านครูผู้สอน และด้านนักเรียน
ครูผู้สอนพลศึกษา หมายถึง ครูผู้ปฏิบัติการสอนวิชาพลศึกษา ทั้งที่มีวุฒิทางพลศึกษา และไม่มีวุฒิทางพลศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร หมายถึง สถานที่ทำการสอนนักเรียนโดยได้รับอนุญาตจากรัฐตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งหมด 38 โรงเรียน
นักเรียน หมายถึง ผู้ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543
เครื่องมือ(tool)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด สำหรับครูผู้สอนวิชาพลศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
การรวบรวมข้อมูล(gathering)
ผู้วิจัยทำหนังสือขอความร่วมมือในการทำวิจัยจากภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปยังสำนักงานอัยการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยส่งแบบสอบถามไปพร้อมกับติดแสตมป์ เพื่อส่งแบบสอบถามมายังผู้วิจัยทางไปรษณีย์ ข้อมูลบางส่วนที่กลุ่มประชากรไม่ได้ตอบกลับมายังผู้วิจัย ผู้วิจัยได้เดินทางไปเก็บข้อมูลดังกล่าวที่โรงเรียนด้วยตนเอง และในบางโรงเรียนผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลทางโทรศัพท์จากกลุ่มประชากรและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 76 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ของแบบสอบถามทั้งหมด
การวิเคราะห์(analysis)
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ข้อสรุป(summary)
ปัญหาเกี่ยวกับการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ทั้ง 6 ด้าน ที่พบ ดังนี้ 1) ด้านจุดมุ่งหมายของการสอนพลศึกษา พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านวิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบว่า อยู่ในระดับน้อย 3) ด้านอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาพบว่า อยู่ในระดับน้อย 5) ด้านครูผู้สอน พบว่าอยู่ในระดับน้อย และ 6) ด้านนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับน้อย
ข้อเสนอแนะ(suggestion)
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ปัญหาด้านจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ครูพลศึกษาควรศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจ เพื่อที่จะเลือกจัดกิจกรรมและวิธีการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาให้มากที่สุด นอกจากนี้ ครูยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมขององค์ประกอบที่สำคัญ ๆ เช่น ความสนใจและความถนัดของนักเรียน ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน จึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุก
2. ปัญหาด้านวิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูควรศึกษาวิธีการสอนหลาย ๆ วิธี เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมหลักสูตร ให้หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกกิจกรรมที่ตนเองสนใจ จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนสูงสุด
3. ปัญหาด้านอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก โรงเรียนควรจัดสรรงบปาณเพื่อที่จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางพลศึกษาให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน และควรมีการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
4. ปัญหาด้านการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ครูพลศึกษาควรวัดให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์การเรียนการสอน โดยมีการวัดทั้งก่อนเรียน ระหว่างการเรียน และหลังการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ และหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป
5. ปัญหาด้านครูผู้สอน ครูพลศึกษาควรมีความพร้อม มีแนวคิด และวิธีการสอนใหม่ ๆ มีความชำนาญในการสอน ครูพลศึกษาควรให้ความรัก ความสนใจ การช่วยเหลือแก่นักเรียนในการเรียน และกิจกรรมทางพลศึกษา ควรมีการจัดการอบรมครูผู้สอนพลศึกษาให้มีประสิทธิภาพใหม่ ๆ อยู่เสมอ
6. ปัญหาด้านนักเรียน นักเรียนควรมีความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ในการเรียนพลศึกษา และตระหนักถึงความสำคัญของวิชาพลศึกษาที่มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษาปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาในวิชาพลศึกษาในสังกัดอื่น ๆ เพื่อจะได้ทราบปัญหาและวิธีการแก้ไข ที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงและสามารถนำไปใช้ได้ โดยใช้กลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างหลายกลุ่ม เช่น ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา นักเรียน และผู้บริหารโรงเรียน เป็นต้น


บทวิจัยปัญหาการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ลำดับที่5179
ชื่อผลงานวิจัยปัญหาการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
หัวข้อ(Eng)Problems of Physical Education Teaching in Primary Schools Under the Office of Bangkik Metropolitan Primary Education
คำสำคัญ(keyword)ปัญหาการสอนพลศึกษา ประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ปี
ชื่อผู้วิจัยนางสาวนฤมล
ชื่อผู้วิจัย(Eng)สุริยะ Ms. Narumon Suriya
การศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ช่วงระยะเวลาที่ทำวิจัย(duration)ทำวิจัยเสร็จปี 2544
ประเภทวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่จัดเก็บผลงานสำนักหอสมุด วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติความเป็นมา(history)การศึกษานับเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ เพราะการศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการพัฒนาบุคคลของประเทศให้เป็นผู้ที่รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักปัญหา และวิชาการแก้ไข ตลอดจนสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสิ้นเปลืองน้อยที่สุด การศึกษาเป็นกระบวนการในการเสริมสร้างบุคคลให้มีลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าว ดังนั้น การพลศึกษาจึงเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาชาติ ที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ซึ่งการเรียนการสอนจะสำเร็จได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ เช่น งบประมาณ สถานที่ อุปกรณ์ กระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร จุดมุ่งหมาย-การสอน และที่สำคัญที่สุดคือ ครูพลศึกษาจะต้องเป็นผู้นำและผู้ดำเนินการให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป

พลศึกษาเป็นวิชาที่มีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ทั้งนี้ เพราะธรรมชาติของร่างกายต้องการการเคลื่อนไหวเพื่อการเจริญเติบโน และรักษาไว้ซึ่งสุขภาพ ในสมัยก่อนมนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ประกอบกับไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ช่วยทุ่นแรงจึงทำให้คนในสมัยนั้นมีการออกกำลังกายเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ซึ่งแตกต่างกับในสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จนทำให้คนส่วนมากไม่มีโอกาสได้ออกกำลังกายเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อเป็นการสนอบความต้องการของร่างกาย และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการขาดการออกกำลังกาย จึงจัดให้มีวิชาพลศึกษาขึ้น (กรมวิชาการ, 2533 : 1) 

เนื่องจากกระบวนการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ครูพลศึกษาเป็นผู้ที่ใกล้ชิด และรู้จักกับนักเรียนมากกว่าครูที่สอนวิชาอื่น ๆ ดังนั้น ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และปลูกฝังพื้นฐานทางด้านกีฬา เพื่อที่จะทำให้เป็นพลเมืองที่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ครูพลศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ เพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ สำอาง พ่วงบุตร (2525 : 34) ได้กล่าวไว้ว่าในเรื่องความสำคัญของครูพลศึกษาต่อวิชาชีพว่า ครูพลศึกษาจะต้องปรับปรุงคุณภาพของตนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม แก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ ให้หมดไป ครูพลศึกษาต้องปรับปรุงทางด้านวิชาการให้ทันสมัยอยู่เสมอ ด้านการสอนก็ควรปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพ ส่วนด้านบุคลิกลักษณะ เพื่อสร้างศรัทธาต่อผู้เรียน จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านมนุษยสัมพันธ์ต้องปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ด้านคุณธรรม ความประพฤติ ต้องประพฤติตนให้เหมาะสม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ไม่เสเพล ไม่ประพฤติในทางเสื่อมเสียทางด้านอบายมุขต่าง ๆ และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ

จะเห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของการสอนพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา ต้องการให้นักเรียนได้พัฒนาการทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ให้เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการทำงาน ประกอบกิจการต่าง ๆ ดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ช่วยเพิ่มพูนสมรรถภาพทางกาย และกำลังคนในการพัฒนาประเทศโดยอาศัยการศึกษาทางด้านพลศึกษา วิชาพลศึกษาจึงจัดได้เป็นวิชาบังคับ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะว่านักเรียนที่มีสุขภาพดีจะมีความคิดอ่านและมีสมองจดจำได้ดีกว่านักเรียนที่มีสุขภาพไม่ดี สุขภาพเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษา ปรัชญาเมธีกรีกสองท่าน คือ Plato และ Aristotle ก็มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า “ก่อนที่จะให้การศึกษาอื่น ๆ ควรให้เด็กมีสุขภาพดีเสียก่อน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับประถมศึกษา นับว่าเป็นการศึกษาที่มุ่งปูพื้นฐานทางการศึกษาให้แก่เด็กในระยะแรก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยได้จัดให้มีการสอนพลศึกษาในชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2430 แล้วก็ตาม การพลศึกษาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งด้านผลผลิต (product) คือ ตัวนักเรียน และโครงสร้างการจัดการเรียนการสอน (process) ต่าง ๆ เช่น จากการวิจัยปัญหาการจัดการสอนพลศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ขาดครูที่มีวุฒิทางพลศึกษา โรงเรียนส่วนมากขาดอุปกรณ์การสอนพลศึกษาทุกชนิด เท่าที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และมีสภาพไม่ดี นอกจากนั้น ผู้บริหารไม่เข้าใจและไม่ให้ความสนับสนุนทางด้านนี้เท่าที่ควร (ปิยวรรณ, 2521, ก)

ซึ่งถ้ามีปัญหาทางการเรียนการสอนแล้วจะทำให้เกิดผลเสีย มีความสำคัญมากกับเด็กประถมศึกษาที่จะเป็นเยาวชนของประเทศต่อไป และถ้าเราสามารถรู้ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาได้ก็จะเกิดผลดีต่อการศึกษาของชาติในการผลิตทรัพยากรที่มีคุณภาพ

การจัดการเรียนการสอนพลศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดีนั้น จำเป็นต้องจัดให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งได้แก่ วุฒิครูผู้สอน อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดทำให้การดำเนินการสอนไม่ดีเท่าที่ควร ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เพราะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในระดับนี้ กล่าวคือ เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาขั้นนี้แล้ว ควรมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติทางพลศึกษา สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานของการศึกษาทางด้านอื่น ๆ หรือทางด้านพลศึกษาอีกต่อไป
แนวคิด(concept)1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทางพลศึกษาระดับประถมศึกษา

2. หลักสูตรพลศึกษาระดับประถมศึกษา

3. ลักษณะและการจัดกิจกรรมพลศึกษาที่จัดสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

4. ปัจจัยและสภาพการณ์ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน

5. ทฤษฎีและหลักการสร้างแบบประเมินค่า
วัตถุประสงค์(objective)เพื่อศึกษาปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
แนวทางการปฏิบัติ(regulation)การวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มตัวอย่าง(sample)กลุ่มประชากร ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษา ที่สอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 76 จาก 38 โรงเรียน
กลุ่มตัวอย่าง -
ตัวแปร(variable)ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัญหาการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 
ตัวแปรตาม -
คำนิยาม(defination)ปัญหาการสอนพลศึกษา หมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน โดยวัดจากความคิดเห็นของกลุ่มประชากร ด้านจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ด้านวิธีการสอนกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ด้านครูผู้สอน และด้านนักเรียน
ครูผู้สอนพลศึกษา หมายถึง ครูผู้ปฏิบัติการสอนวิชาพลศึกษา ทั้งที่มีวุฒิทางพลศึกษา และไม่มีวุฒิทางพลศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร หมายถึง สถานที่ทำการสอนนักเรียนโดยได้รับอนุญาตจากรัฐตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งหมด 38 โรงเรียน
นักเรียน หมายถึง ผู้ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543
เครื่องมือ(tool)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด สำหรับครูผู้สอนวิชาพลศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
การรวบรวมข้อมูล(gathering)ผู้วิจัยทำหนังสือขอความร่วมมือในการทำวิจัยจากภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปยังสำนักงานอัยการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยส่งแบบสอบถามไปพร้อมกับติดแสตมป์ เพื่อส่งแบบสอบถามมายังผู้วิจัยทางไปรษณีย์ ข้อมูลบางส่วนที่กลุ่มประชากรไม่ได้ตอบกลับมายังผู้วิจัย ผู้วิจัยได้เดินทางไปเก็บข้อมูลดังกล่าวที่โรงเรียนด้วยตนเอง และในบางโรงเรียนผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลทางโทรศัพท์จากกลุ่มประชากรและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 76 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ของแบบสอบถามทั้งหมด
การวิเคราะห์(analysis)วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ข้อสรุป(summary)ปัญหาเกี่ยวกับการสอนพลศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ทั้ง 6 ด้าน ที่พบ ดังนี้ 1) ด้านจุดมุ่งหมายของการสอนพลศึกษา พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านวิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบว่า อยู่ในระดับน้อย 3) ด้านอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาพบว่า อยู่ในระดับน้อย 5) ด้านครูผู้สอน พบว่าอยู่ในระดับน้อย และ 6) ด้านนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับน้อย
ข้อเสนอแนะ(suggestion)ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ปัญหาด้านจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ครูพลศึกษาควรศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจ เพื่อที่จะเลือกจัดกิจกรรมและวิธีการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาให้มากที่สุด นอกจากนี้ ครูยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมขององค์ประกอบที่สำคัญ ๆ เช่น ความสนใจและความถนัดของนักเรียน ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน จึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุก
2. ปัญหาด้านวิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูควรศึกษาวิธีการสอนหลาย ๆ วิธี เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมหลักสูตร ให้หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกกิจกรรมที่ตนเองสนใจ จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนสูงสุด
3. ปัญหาด้านอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก โรงเรียนควรจัดสรรงบปาณเพื่อที่จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางพลศึกษาให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน และควรมีการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
4. ปัญหาด้านการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ครูพลศึกษาควรวัดให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์การเรียนการสอน โดยมีการวัดทั้งก่อนเรียน ระหว่างการเรียน และหลังการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ และหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป
5. ปัญหาด้านครูผู้สอน ครูพลศึกษาควรมีความพร้อม มีแนวคิด และวิธีการสอนใหม่ ๆ มีความชำนาญในการสอน ครูพลศึกษาควรให้ความรัก ความสนใจ การช่วยเหลือแก่นักเรียนในการเรียน และกิจกรรมทางพลศึกษา ควรมีการจัดการอบรมครูผู้สอนพลศึกษาให้มีประสิทธิภาพใหม่ ๆ อยู่เสมอ
6. ปัญหาด้านนักเรียน นักเรียนควรมีความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ในการเรียนพลศึกษา และตระหนักถึงความสำคัญของวิชาพลศึกษาที่มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษาปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาในวิชาพลศึกษาในสังกัดอื่น ๆ เพื่อจะได้ทราบปัญหาและวิธีการแก้ไข ที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงและสามารถนำไปใช้ได้ โดยใช้กลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างหลายกลุ่ม เช่น ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา นักเรียน และผู้บริหารโรงเรียน เป็นต้น
ปี2544